วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด"
ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ
  • ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู 
  • ชิปเซ็ต (Chip set)
  • ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
  • ระบบบัสและสล็อต
  • Bios
  • สัญญาณนาฬิกาของระบบ
  • ถ่านหรือแบตเตอรี่
  • ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
  • ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
  • จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
  • ขั้วต่อ IDE
  • ขั้วต่อ Floppy disk drive
  • พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
  • พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
  • พอร์ต USB
 แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด ECS P6VPA2 
แหล่งที่มา: http://kroo.ipst.ac.th/wkv/mainboard.html
CPU
ซีพียู CPU (Central Processing Units) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เรียกว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เพราะการทำงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้ายข้อมูล การตัดสินใจ ล้วนเกิดขึ้นที่นี่ทั่งสิ้น เพียงแต่ว่าซีพียูจะต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานร่วมด้วย เพื่อให้สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้นั่นก็คือการับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล
CELERON
ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลาเมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วยความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่Celeron สนันสนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้ เพราะ แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )
เซลเลอรอนโควินตัน( Covington )
ซีพียูโควินตันจะมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้เทคโนโลยีการ ผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ส่วนของชิปจะถูกติดตั้งบนแผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SECC ในเพ นเทียมทู แต่ในตระกูลเซลเลอรอนจะเรียกแผงวงจรดังกล่าวว่า SEPP (Single Edge Processor Packege) แทน ซึ่งจะใช้ติดตั้งบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 เช่นเดียวกัน และแผงวงจร SEPP ก็จะ ถูกบรรจุอยู่ในพลาสติกสีดำคล้ายตลับเกม
เซลเลอรอนเมนโดชิโน ( Mendocino )
ซีพียูในรุ่นนี้จีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเพนเทียมทูรุ่นรหัส Deschutes คือใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 02.5 ไมครอน ซึ่งเป็นเทคโนโบยีการผลิตซีพียูที่มีขนาดเล็กกว่าเซล เลอรอนโควินตันที่ใช้ 0.35 ไมครอน และที่สำคัญยังด้เพิ่มส่วนของหน่วยความจำแคชระดับ สองเข้าไปบนตัวชิปซีพียูอีก 128 KB โดยแคชจะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู จะเป็นว่า หน่วยความจำแคชระดับสองของเมนโดชิโนจะมีขนาดเล็กกว่าเพนเทียมทูซึ่งมีขนาด 512 KB แต่แคชระดับสองเมนโดชิโนจะทำงานเร็วกว่า แคชของเพนเทียมทู ซึ่งมีความเร็วเพียง ครึ่งหนึ่งของซีพียูเท่านั้น โดยซีพียูในรุ่นนี้จะเริ่มที่ความเร็ว 300 -433 MHz และถูกติดตั้งบน แผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SEPP
ซีพียูเซลเลอรอน PPGA Socket 370
เพื่อเป็นการลดต้นทุนอินเทลจึงได้ออกแบบ PPGA ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ Slot 1 สำหรับ ซีพียูเซลเลอรอนแบบ PPGA Socket 370 นี้ ยังคงมีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเมนโดชิโนที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน กับแคชระดับสองขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ ความเร็วเดียวกับซีพียู มีความเร็วตั้งแต่ 300 – 533 MHz
เพนเทียมทรี Pentium III
ซีพียูเพนเทียมทรีเป็นซีพียูที่ได้ทำการเพิ่มชุดคำสั่ง Streaming SIMD Extension :SSE เข้าไป 70 คำสั่ง ซึ่งมีหน้าที่เร่งความเร็วให้กับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ 3 มิติ พร้อมกับการเปลี่ยน หน่วยความจำแคชระดับสองให้เร็วขึ้นคือ จาก5.5 ns มาเป็น 4 ns
ซึ่งในรุ่นแรกนี้ใช้ชื่อรหัสว่า แคทไม Katmai และยังคงใช้เทคโนโลยีซีพียูแบบ Slot 1 เช่นเดียวกับเพนเทียมทู ต่อมาทางอินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเทียมทรีออกมาใหม่คือ Coppermine ซึ่งมี รูปแบบซีพียูแบบ Slot 1 เช่นกัน
ซีพียูเพนเยมทรีแคทไม Pentium III Katmai
เป็นซีพียูที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 450 MHz ไปจนถึง 620 MHz ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด0.25 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SECC 2 (Single Edge Contact Cartridge 2 )
ซีพียูเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ Pentuim III Coppermine
ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ซีพียูมีแพ็คเกจแบบ SECC2 และลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสองลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ 256 KB แต่เป็น หน่วยความจำแคชที่สร้างบนชิปซีพียูซึ่งทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู เท่ากับว่าแคชของซีพียูคอปเปอร์ไมน์ทำงานเร็วเป็น 2 เท่า ของซีพียูแคทไม โดยหน่วยความจำแคชระดับสองนี้จะใช้ เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Advanced Transfer Cache: ATC
แหล่งที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b5055141/intel.html
AMD Athlon64 Processor 4000+


AMD Athlon64 4000+ ยังคงใช้ซอคเก็ต 939 ซึ่งมี memory controller เป็นแบบ 128-bit หรือ Dual-Channel DDR 
แรม
แรม (RAM: Random Access Memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ฮาร์ดดิส
 ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์
        แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์
        เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์สูงมาก ๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผิวหน้าจานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้องการเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้องออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)
พาวเวอร์ซัพพลาย
แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

สูตรคุกกี้เนย

สูตรคุกกี้เนย



                                     




ส่วนผสมคุกกี้เนย



-แป้งบัวแดง 4 ถ้วยตวง


-เนยสด 1 ถ้วยตวง


-เนยขาว 1/2 ถ้วยตวง


-ไข่ไก่ 2 ฟอง


-น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง


-เกลือ 1/8 ช้อนชา

-ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ


-กลิ่นวานิลา 1 ช้อนโต๊ะ


-ลูกเกดหรือมะเขือเทศเชื่อม สำหรับแต่งหน้า



วิธีทำคุกกี้เนย


1. ร่อนแป้ง ผงฟู เกลือ เข้าด้วยกัน


2. ตีเนยสดและเนยขาว พอขึ้น จากนั้นค่อยๆเติมน้ำตาลทราย ตีจน


ขึ้น ลักษณะเป็นครีม เติมไข่ไก่ทีละฟอง ตีจน


เข้ากัน เติมกลิ่นวานิลา


3. นำเนยที่ตีเสร็จแล้วมาผสมกับแป้งในข้อ 1 ผสมพอเข้ากัน


4. ขึ้นรูปคุกกี้บนถาด



5. อบที่อุณหภูมิ 350 องศาฟาเรนไฮน์ ประมาณ 15 นาทีหรือจน


ขนมสุก

ที่มาhttp://www.meetips.com/webboard/viewthread.php?tid=72

คุกกี้เนยถั่ว







สูตรคุกกี้เนยถั่ว



 
ส่วนประกอบคุกกี้เนยถั่ว

-ไข่ไก่ 2 ฟอง (อิ่มอุ่นใช้เบอร์ 1 ค่ะ) 

-น้ำตาลทรายแดงร่อนแล้ว 3/4 ถ้วย, น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย 
-ผงฟู 1/2 ช้อนชา

-เบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา 

-เกลือ 1/4 ช้อนชา

-แป้งอเนกประสงค์ร่อนแล้ว 2 ถ้วย

-เนยสดชนิดจืด 3/4 ถ้วย

-เนยถั่ว แบบหยาบ 3/4 ถ้วย

-กลิ่นวนิลา 1 ช้อนชา


วิธีทำคุกกี้เนยถั่ว
1. นำแป้งที่ร่อนแล้ว เทผสมรวมกับเบคกิ้งโซดา ผงฟู และเกลือ

จากนั้นคนส่วนผสมให้เข้ากัน


 (หรือใช้วิธีร่อนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันก็ได้นะค่ะ

วิธีนี้จะทำให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดีค่ะ)

2. หั่นเนยสดให้เป็นลูกเต๋าขนาดประมาณ 2x2ซ.ม ค่ะ

จากนั้นนำเนยสด เนยถั่ว น้ำตาลทรายแดง 

น้ำตาลทรายขาวเทผมรวมกัน ตีด้วยความเร็วปานกลาง

จนกระทั้งส่วนผสมทั้งหมดขึ้นฟู 

3. ใส่ไข่ไก่ และวนิลาลงไปในส่วนผสมเนยที่ขึ้นฟูแล้ว

 ตีส่วนผสมด้วยความเร็วปลานกลางให้เข้ากันอีกครั้ง

4. ค่อยๆเติมแป้งเอนกประสงค์ลงไปตีส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

 เป็นอันใช้ได้แล้วค่ะ 

5. นำส่วนผสมที่ได้ แช่ในตู้เย็นประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง

(อย่าลืมคลุมส่วนผสมด้วยผ้าขาวบางหรือพลาสติกไว้ด้วยนะคะ) 

ผ่านไป 2 -4 ชั่วโมง 

6. วอล์มเตาอบที่ 180 องศาเซลเซียส ประมาณ 5 - 6 นาที

(หรือ 375 องศาฟาเรนไฮซ์) 


7. เตรียมถาดอบคุกกี้ โดยวางกระดาษไข

หรือแผ่นซิลิโคนรองอบป้องกันไม่ให้เนื้อคุกกี้ติดถาดอบ

 ใช้ช้อนตักเนื้อคุกกี้ และหยอดเนื้อคุกกี้ให้ได้ขนาดประมาณ 3 นิ้ว

จากนั้นกดตรงกลางด้วยส้อม

(อย่ากดแรงนะคะ แค่ให้เห็นเป็นรอยส้อมก็พอ)

8. เมื่อเตาอบพร้อมแล้ว เริ่มอบคุกกี้กันได้เลยค่ะ

ใช้เวลาประมาณ 10 - 12 นาที 

9. นำคุกกี้ออกจากเตาอบ ทิ้งไว้ให้เย็นสักครู่ประมาณ 1 - 2 นาที

ก็พอค่ะ จากนั้นนำคุกกี้ออกจากถาดรองอบ

 วางคุกกี้ลงบนตระแกรง ทิ้งไว้ให้เย็นสนิทบรรจุลงโหลคุกกี้ได้เลย

ค่ะ.



***ทริปคุกกี้เนยถั่ว*** 

น้ำตาลทรายแดงจำต้องร่อนก่อนจะตวงนะคะ 

น้ำตาลทรายแดงช่วยให้รสชาติของขนมหวานกลมกล่อมและ

ให้กลิ่นที่หอมน่าทานค่ะ





ที่มาhttp://www.meetips.com/webboard/viewthread.php?tid=72

คุกกี้ช็อคโกแลตชิป

คุกกี้ช็อคโกแลตชิป




 


ส่วนผสมคุกกี้ช็อคโกแลตชิป


-เนยนุ่มๆ 1 ถ้วย 


-น้ำตาล 1/2 ถ้วย 


-น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วย 


-ไข่ 2 ฟอง 


-วนิลา 2 ช้อนชา 


-แป้งขนมปัง 2 1/2 ถ้วย 


-เบ็กกี้งโซดา 1/2 ช้อนชา 


-เกลือ 1/2 ช้อนชา 


-ช็อคโกแลตชิป 2 ถ้วย 

วิธีทำคุกกี้ช็อคโกแลตชิป


ผสม เนย, น้ำตาล, ไข่ เข้าด้วยกัน ตีจนขึ้นฟู 


ผสม วนิลา, แป้งขนมปัง, เบ็กกิ้งโซดา และ เกลือ เข้าด้วยกัน 


นำส่วนผสมที่ได้ในข้อ 1 ผสมลงไปในส่วนผสมในข้อ 2 ทีละน้อย 


จนรวมเป็นเนื้อเดียวกัน 




จากนั้นนำ ช็อคโกแลตชิป มาคลุก 


ใช้ช้อนตักใส่ในถาด หรือ ใส่ในแม่พิมพ์ 


อบในอุณหภูมิ 150 C (300 F) ประมาณ 18 – 24 นาที 




ที่มา
http://www.meetips.com/webboard/viewthread.php?tid=72



น้ำแข็งใส เกล็ดหิมะ





น้ำแข็งใส เกล็ดหิมะ




ส่วนผสมน้ำแข็งใส เกล็ดหิมะ
  1. นมสด  1 ถ้วย
  2. นมข้นหวาน  1 ถ้วย
  3. สตอเบอรี่
  4. ช็อคโกแลตชิป
  5. โอลีโอ้
  6. ท็อปปิ้ง สตอเบอรี่
  7. น้ำแข็งก้อนใหญ่

วิธีทำน้ำแข็งใส เกล็ดหิมะ
  • นำนมสดและนมข้นหวาน ตั้งไฟคนให้เข้ากัน
  • เสร็จแล้ว เอาน้ำแข็งมาใส่ให้เป็นเกล็ด
  • นำนมที่เราเตรียมไว้ราดลงไปบนน้ำแข็งเกล็ด เอาสตอเบอรี่
  • ช็อคโกแลตชิป โอลีโอ้ วางไว้ด้านบน และราดท็อปปิ้ง สตอ
  • เบอรี่อีกครั้ง


ที่มา








วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

วาฟเฟิล


ส่วนผสม
  • แป้งสาลีอเนกประสงค์ ½ กิโลกรัม
  • ไข่ไก่ 3 ฟอง
  • เนยสด ¼ ก้อน
  • น้ำตาลทราย 200 กรัม
  • นมสด ½ กระป๋อง
  • โยเกิร์ต ¼ กระป๋อง
  • ผงฟู
  • เกลือ
  • แยมหรือผลไม้แห้งตามชอบ
วิธีทำ
  1. ผสมส่วนผสมทั้งหมดคือ แป้งสาลี ไข่ไก่ เนยสดที่ละลายแล้ว น้ำตาลทราย นมสด โยเกิร์ต ผงฟูและเกลืออย่างละเล็กน้อย ผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นใช้ตะกร้อตีให้เข้ากัน ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
  2. นำแป้งที่ได้ไปอบในเตาวาฟเฟิล คอยสังเกตว่าผิวแป้งเริ่มเป็นสีน้ำตาล หรือใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มลงไปที่แป้งหากไม่มีเนื้อแป้งติดขึ้นมาแสดงว่าสุกแล้ว นำขึ้นพักไว้ในจาน
  3. เสิร์ฟรับประทานโดยราดด้วยแยมหรือแต่งหน้าด้วยผลไม้แห้งตามชอบ

ทอฟฟี่เค้ก


ส่วนผสมตัวเค้ก
  • ไข่ไก่ 9 ฟอง
  • น้ำตาลทราย 400 กรัม
  • เกลือ ½ ช้อนชา
  • แป้งเค้ก 250 กรัม
  • ผงฟู 2 ช้อนชา
  • โกโก้ 15 กรัม
  • กาแฟ 1 ช้อนโต๊ะ
  • เนยละลาย 300 กรัม
  • โอวาเล็ต (Ovalett) 15 กรัม
ส่วนผสมหน้าทอฟฟี่
  • เนยสด 300 กรัม
  • นมข้นจืดระเหย 120 กรัม
  • น้ำตาลทราย 250 กรัม
  • แป้งอเนกประสงค์ 60 กรัม
  • เม็ดมะม่วงสับหยาบๆ 400 กรัม
วิธีทำ
  1. ร่อนแป้งเค้ก ผงฟู และเกลือ ผสมเข้าด้วยกัน 3 ครั้ง
  2. นำกาแฟและโกโก้มาผสมกัน เติมน้ำเล็กน้อย คนให้ละลาย พักไว้
  3. นำไข่ไก่ น้ำตาลทราย แป้งที่ร่อนแล้ว และโอวาเล็ต มารวมกันในอ่างผสม แล้วตีด้วยความเร็วสูงสุดของเครื่องประมาณ 5 นาที ลดความเร็วต่ำตีต่ออีกประมาณ 30 วินาที เติมส่วนผสมของกาแฟและโกโก้ ผสมให้เข้ากัน ใส่เนยละลาย คนให้เข้ากัน
  4. เทส่วนผสมที่ได้ลงในพิมพ์สี่เหลี่ยมที่รองด้วยกระดาษไข นำเข้าเตาอบไฟ 350 F ประมาณ 30-45 นาที หรือจนกระทั่งสุก
  5. เตรียมทำหน้าทอฟฟี่ระหว่างรอขนมสุก โดยผสมแป้งอเนกประสงค์กับน้ำตาลให้เข้ากัน เติมนมข้นจืด คนพอเข้ากันแล้วจึงเติมเนยสด นำไปตั้งไฟ ระหว่างที่ตั้งไฟต้องหมั่นคน เพราะส่วนผสมจะไหม้และติดก้นหม้อได้ง่าย กวนพอข้นจึงยกลง ใส่เม็ดมะม่วงกวนให้เข้ากัน
  6. นำเค้กที่อบสุกแล้ว มาราดด้วยส่วนผสมหน้าทอฟฟี่ที่เตรียมไว้ เกลี่ยให้เรียบเสมอกัน จากนั้นนำไปอบอีกครั้งที่อุณหภูมิ 400 F ประมาณ 10-15 นาที หรือจนกระทั่งหน้าเกรียมสวย แต่ต้องระวังอย่าให้ไหม้ นำออกจากเตาอบ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นก่อนจึงแคะออกจากพิมพ์ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ส่วนผสมของหน้าหลุดออกจากตัวเค้ก

ลำไยในน้ำเชื่อมสมุนไพร



ส่วนผสม
  • มะตูมแห้งปิ้งไฟพอหอม 3-4 ชิ้น
  • ใบเตยหั่นเป็นท่อนเล็กๆ 1 ถ้วย
  • ใบสะระแหน่ 1 ถ้วย
  • ขิงแก่ 2-3 แว่น
  • น้ำเปล่า 3 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย ½ ถ้วย
  • เนื้อลำไย 1 ถ้วย
  • น้ำปูนใส 1 ถ้วย
วิธีทำ
  1. แช่เนื้อลำไยในน้ำปูนใสประมาณ 15 นาที นำขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำ
  2. ตั้งน้ำพอเดือด ใส่มะตูมและขิง ต้มประมาณ 3 นาที ใส่ใบเตยและใบสะระแหน่ ต้มต่ออีกประมาณ 2 นาที ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่น้ำตาลและเนื้อลำไย ยกขึ้นตั้งไฟต้มต่อพอเดือด ยกลง
  3. ใส่แก้วเสิร์ฟดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น หากต้องการใส่น้ำแข็งดื่มแบบเย็นให้เพิ่มน้ำตาลอีก ¼ ถ้วย

เค้กลูกพีช


                    
                       เค้กลูกพีช


เครื่องปรุงสปอนจ์เค้ก
  • เนยสด 1 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ไก่ 3 ฟอง
  • นํ้าตาลทราย 150 กรัม
  • นมจืด 90 กรัม
  • เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  • กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  • แป้งเค้ก 150 กรัม
  • ผงฟู 1 1/4 ช้อนชา
  • เนยละลายแล้ว 1/4 ถ้วยตวง
วิธีทำ
  1. นำหม้อหุงข้าวทาด้านในด้วยเนยให้ทั่ว
  2. ในเครื่องตี ใส่ไข่ไก่ นํ้าตาลทราย นมจืด เกลือป่น กลิ่นวานิลลา ตีส่วนผสมให้ขึ้นจนเป็นครีมสีเหลืองอ่อน
  3. ร่อนแป้งและผงฟูเข้าด้วยกัน แล้วเทลงไปในส่วนผสมของไข่ไก่ที่ตีไว้โดยวิธีการโฟลด์ ให้ส่วนผสมเข้ากัน แล้วจึงโฟลด์เนยละลายแล้วลงไป เทส่วนผสมที่ได้ลงในหม้อหุงข้าวที่ทาเนยเตรียมไว้
  4. นำไปใส่ในหม้อหุงข้าว กดหุงตามปกติ ใช้เวลาอบประมาณ 45–50 นาที การตรวจดูว่าเค้กสุกหรือไม่ ให้ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟันจิ้มลงไป หากเนื้อเค้กติดที่ไม้แสดงว่าเค้กยังไม่สุก เมื่อเค้กสุกแล้วให้เคาะออกจากหม้อ พักไว้
เครื่องปรุงเค้กลูกพีช
  • สปอนจ์เค้ก 1 ชิ้น
  • น้ำเชื่อมจากลูกพีชกระป๋อง 300 มิลลิกรัม
  • เหล้ามีเดียมเชอรี่ 100 มิลลิกรัม
  • ลูกพีชในน้ำเชื่อมหั่นสไลซ์ 1 กระป๋อง
  • ราสเบอรี่ซอส สำหรับตกแต่ง
  • วิปปิ้งครีม สำหรับตกแต่ง
วิธีทำ
  1. นำนํ้าเชื่อมจากลูกพีชกระป๋อง ผสมกับเหล้ามีเดียมเชอรี่ พักไว้
  2. นำสปอนจ์เค้ก แบ่งครึ่งเป็นสองส่วน พรมด้วยน้ำเชื่อมผสมเหล้ามีเดียมเชอรี่ให้ทั่วทั้งสองส่วน แล้วนำวิปปิ้งครีมปาดให้ทั่ว แล้วประกบเข้าด้วยกันพรมน้ำเชื่อมให้ทั่วชิ้นเค้กอีกครั้ง
  3. นำลูกพีชมาเรียงให้เต็มตัวเค้ก ตัดเสิร์ฟพร้อมวิปปิ้งครีมและซอสราสเบอรี่